วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

ลักษณะของข้อสอบและแบบทดสอบที่ดี

ลักษณะของข้อสอบและแบบทดสอบที่ดี

ข้อสอบแต่ละชนิดนั้นแต่ละประเภทมีคุณสมบัติที่ดีเฉพาะตัว และมีความเหมาะสมในการนำไปใช้ทดสอบผลการเรียนรู้แตกต่างกันไป ดังนั้นข้อสอบและแบบทดสอบที่นำมาใช้ควรมีลักษณะที่ดีโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. มีความเที่ยงตรง ( Validity )
- มีความครอบคลุมครบถ้วน และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ต้องการให้วัดหรือไม่
- มีความเที่ยงตรงเชื่อถือได้ และควรมีความตรง 3 ประเภทดังนี้
1. ความตรงตามเนื้อหา 2. ความตรงตามเกณฑ์ 3. ความตรงตามโครงสร้าง
2. มีความเชื่อถือได้ ( Reliability )
การทดสอบข้อสอบที่เชื่อถือได้โดยการให้นักเรียนกลุ่มเดิมหรือคนเดิมทำข้อสอบ ชุดเดิมหลาย ๆ ครั้ง หากผลคะแนนออกมาใกล้เคียงเดิมหรือได้เท่าเดิม แสดงว่าข้อสอบนั้น เชื่อถือได้
3. มีระดับความยากง่าย ( Difficulty Index )
พิจารณาได้จากจำนวนนักเรียนทำข้อสอบได้ถูก และทำไม่ถูกอย่างละประมาณ ครึ่งหนึ่งของนักเรียนทั้งหมด ถือว่าข้อสอบนั้นมีระดับความยากที่พอเหมาะ ทั้งนี้ต้องออกข้อสอบให้เหมาะกับความสามารถในแต่ละระดับชั้นของนักเรียนด้วย
4. มีอำนาจจำแนก ( Discrimination Power )
สามารถแยกแยะนักเรียนกลกุ่มที่เรียนเก่ง เรียนปานกลาง และเรียนอ่อน ออกจากกันได้
5. มีความเป็นปรนัย ( Objectivity )
- ความถูกต้องทางวิชาการ
- การให้คะแนน จะต้องมีเกณฑ์การตรวจให้คะแนน ไม่ให้คะแนนตามอารมณ์ผู้ตรวจ
- ภาษาที่ใช้ต้องชัดเจน
6. มีความหมายในการทดสอบ ( MeaningfuIness )
ในการวัดผู้เรียนเก่งควรทำข้อสอบได้ถูก ผู้ที่เรียนไม่เก่งควรตอบผิด มีการตั้งคำถามความหมายที่แน่นอน วัดได้ชัดเจน ไม่ใช่คำถามที่ตอบได้หลากหลายแบบ
7. สามารถนำไปใช้ได้ ( Usability )
- ดำเนินการสอบได้ง่าย คือ นำไปใช้ได้ง่าย สะดวก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
- ใช้เวลาสอบเหมาะสม คือ ใช้เวลาทำข้อสอบไม่สั้นหรือยาวเกินไป
- ให้คะแนนได้ง่าย
- แปลผลและนำไปใช้ได้สะดวก
- สามารถสร้างข้อสอบคู่ขนานหรือข้อสอบเปรียบเทียบได้
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสอบ

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นบทความที่ดีมากครับ

ผมขอนำไปใช้อ้างอิง

ในรายวิชา ระเบียบงานวิจัย
คณะเภสัชฯ ม.หัวเฉียวฯ

ขอบคุณมากครับ