วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ปัจจุบันพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้เน้นให้ครูเป็นผู้จัดการเรียนรู้ โดยให้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กล่าวคือให้ผู้เรียนนั้นสามารถที่จะเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด ฉะนั้นการจัดการเรียนรู้จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุตามตัวชี้วัดที่ต้องการได้

นอกเหนือจากการเรียนการสอนที่มีมาตั้งแต่ในอดีตไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย (ซึ่งยังใช้ได้ดีกับนักเรียนบางส่วนและเนื้อหาบางเรื่อง) แต่ยังมีวิธีการจัดการเรียนรู้อีกหลายรูปแบบที่ครูสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนได้

และต่อไปนี้ก็เป็นแนวทางอีกส่วนหนึ่งในหลายๆ อย่างที่ควรนำไปจัดการเรียนรู้ โดยจะกล่าวถึงเฉพาะส่วนย่อๆ ว่าจะใช้เพื่อให้นักเรียนเกิดอะไรขึ้นและทักษะที่มุ่งหวังหรือที่ต้องการเน้นนั้นคืออะไร เป็นต้น

วิชาที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้นั้น ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าต้องการให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และพฤติกรรมอย่างไร เช่น ในวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การแยกสาร ต้องการให้นักเรียนคิดหาวิธีการแยกสารให้ได้ และสรุปเป็นความรู้ได้ด้วยตนเอง ครูก็เลือกวิธี การฝึกปฏิบัติการ เพราะมีทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้นได้แก่ การค้นคว้าหาความรู้ จากการระดมสมองหาวิธีการแยกสารที่เหมาะสม การรวบรวมข้อมูลฝึกการหาข้อมูล วิธีการแยกสารนั้นจะใช้ได้ผลหรือไม่ และสุดท้ายก็ต้องทดลองการแก้ปัญหาตามที่ได้คิดไว้ ซึ่งนักเรียนจะได้ ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะ กลุ่มปฏิบัติการและได้ทดลอง ทั้งหมดที่นักเรียนทำนั้นเขาจะเกิดองค์ความรู้ว่าจะแยกสารนั้นออกจากกันจะต้องคิดและมีกระบวนการคิดแก้ปัญหา
อย่างไร ซึ่งถือว่าเขาได้เกิดองค์ความรู้ขึ้นอีกหนึ่งองค์ความรู้แล้ว

1) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : กระบวนการสืบค้น (Inquiry Process)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การศึกษาค้นคว้า
- การเรียนรู้กระบวนการ
- การตัดสินใจ
- ความคิดสร้างสรรค์
บทบาทผู้เรียน
ศึกษาค้นคว้า เพื่อสืบค้นข้อความรู้ด้วยตนเอง


2) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนแบบค้นพบ (Discovery Learning)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การสังเกต การสืบค้น
- การให้เหตุผล การอ้างอิง
- การสร้างสมมติฐาน
บทบาทผู้เรียน
ศึกษา ค้นพบข้อความรู้และขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยตนเอง

3) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนแบบแก้ปัญหา (Problem-solving)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การศึกษาค้นคว้า
- การวิเคราะห์ สังเคราะห์ประเมินค้าข้อมูล
- การลงข้อสรุป
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
ศึกษา แก้ปัญหาอย่างเป็นกระบวนการและฝึกทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญด้วยตนเอง

4) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนแบบสร้างแผนผังความคิด (Concept Mapping)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การคิด
- การจัดระบบความคิด
บทบาทผู้เรียน
จัดระบบความคิดของตนให้ชัดเจน เห็นความสัมพันธ์

5) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การตั้งคำถาม (Questioning)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- กระบวนการคิด
- การตีความ
- การไตร่ตรอง
- การถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ
บทบาทผู้เรียน
เรียนรู้จากคิดเพื่อสร้างข้อคำถามและคำตอบด้วยตนเอง

6) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual Study)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การศึกษาค้นคว้าข้อความรู้
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- ความรับผิดชอบ
บทบาทผู้เรียน
เรียนรู้อย่างเป็นอิสระด้วยตนเอง

7) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การจัดการเรียนการสอนที่ใช้เทคโนโลยี (Technology - Related Instruction)
ประกอบด้วย
- ศูนย์การเรียน
- ชุดการสอน
- บทเรียนสำเร็จรูป
- คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- e-learning
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การตอบคำถาม
- การแก้ปัญหา
- การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
- การเรียนรู้ที่ต้องการผลการเรียนรู้ทันที
- การเรียนรู้ตามลำดับขั้น
บทบาทผู้เรียน
เรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความรู้ความสามารถของตน มีการแก้ไขฝึกซ้ำเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ

8) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การอภิปรายกลุ่มใหญ่ (Whole - Class Discussion)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การแสดงความคิดเห็น
- การวิเคราะห์
- การตีความ
- การสื่อความหมาย
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การสรุปความ
บทบาทผู้เรียน
มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น มีบทบาทมีส่วนร่วมในการสร้างข้อความรู้

9) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การอภิปรายกลุ่มย่อย (Small - Group Discussion)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- กระบวนการกลุ่ม
- การวางแผน
- การแก้ปัญหา
- การตัดสินใจ
- ความคิดระดับสูง
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ไขข้อขัดแย้ง
- การสื่อสาร
- การประเมินผลงาน
- การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
บทบาทผู้เรียน
รับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองในฐานะผู้นำกลุ่มหรือสมาชิกกลุ่มทั้งในบทบาทการทำงานและบทบาทเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม ในการสร้างข้อความรู้หรือผลงานกลุ่ม

9.1 เทคนิคคู่คิด (Think-Pair-Share)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การค้นคว้าหาคำตอบ
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
บทบาทผู้เรียน
รับผิดชอบการเรียนร่วมกับเพื่อน

9.2 เทคนิคการระดมพลังสมอง (Brainstorming)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การมีส่วนร่วม
- การแสดงความคิดเห็น
- ความคิดสร้างสรรค์
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
แสดงความคิดเห็นอย่างหลากหลายในเวลาอันรวดเร็ว

9.3 เทคนิค Buzzing
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การค้นคว้าหาคำตอบด้วยเวลาจำกัด
บทบาทผู้เรียน
แสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด


9.4 การอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ (Panel, Forum, Symposium, Seminar)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การสื่อสาร
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การสรุปข้อความรู้
บทบาทผู้เรียน
รับฟังข้อมูลความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปในเวลาอันจำกัด

9.5 กลุ่มติว
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การฝึกซ้ำ
- การสื่อสาร
บทบาทผู้เรียน
ทบทวนจากกลุ่มหรือเพื่อหรือเรียนเพิ่มเติม

10) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การฝึกปฏิบัติการ
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การค้นคว้าหาความรู้
- การรวบรวมข้อมูล
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
ศึกษาค้นคว้าข้อความรู้ในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการ

11) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : เกม (Games)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การคิดวิเคราะห์
- การตัดสินใจ
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
ได้เล่มเกมด้วยตนเองภายใต้กฎหรือกติกาที่กำหนด ได้คิดวิเคราะห์พฤติกรรมและเกิดความสนุกสนานในการเรียน

12) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : กรณีศึกษา (Case Studies)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การค้นคว้าหาความรู้
- การอภิปราย
- การวิเคราะห์
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
ได้ฝึกคิดวิเคราะห์อภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจแล้วตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหา

13) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : สถานการณ์จำลอง (Simulation)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การแสดงความคิดเห็น
- ความรู้สึก
- การวิเคราะห์
บทบาทผู้เรียน
ได้ทดลองแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่จำลองใกล้เคียงสถานการณ์จริง

14) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : ละคร (Dramatization)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- ความรับผิดชอบในบทบาท
- การทำงานร่วมกัน
- การวิเคราะห์
บทบาทผู้เรียน
ได้ทดลองแสดงบทบาทตามที่กำหนดเกิดประสบการณ์เข้าใจความรู้สึก เหตุผล และพฤติกรรมผู้อื่น

15) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : บทบาทสมมติ
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- มนุษยสัมพันธ์
- การแก้ปัญหา
- การวิเคราะห์
บทบาทผู้เรียน
ได้ลองสวมบทบาทต่าง ๆ และศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมตน


16) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ประกอบด้วยเทคนิค JIGSAW, JIGSAW II, TGT, STAD,LT,GI, NHT, Co-op Co-op - กระบวนการกลุ่ม
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การสื่อสาร
- ความรับผิดชอบร่วมกัน
- ทักษะทางสังคม
- การแก้ปัญหา
- การคิดแบบหลากหลาย
- การสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน
บทบาทผู้เรียน
ได้เรียนรู้บทบาทสมาชิก กลุ่มมีบทบาทหน้าที่ รู้จักการไว้วางใจให้เกียรติและรับผังความคิดเห็นของเพื่อนสมาชิกกลุ่ม และรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและเพื่อน ๆ ในกลุ่ม

17) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การนำเสนอความคิดประสบการณ์
- การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์
- กระบวนการกลุ่ม
บทบาทผู้เรียน
มีส่วนร่วมในการอภิปรายแสดงความคิดเห็นหรือปฏิบัติจนได้ข้อสรุป

18) เทคนิค/วิธีการสอนแบบ : การเรียนการสอนแบบ บูรณาการ แบบ Shoreline Method
ทักษะ/พฤติกรรมที่มุ่งเน้น
- การค้นคว้าหาความรู้
- การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- ทักษะทางสังคม
- กระบวนการกลุ่ม
- การสื่อสาร
- การแก้ปัญหา
บทบาทผู้เรียน
มีส่วนร่วมในการเรียนทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจและการคิด ดำเนินการเรียนด้วยตนเองทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง ศึกษา ปฏิบัติด้วยตนเองทุกเรื่อง ร่วมแรงร่วมใจด้วยความเต็มใจ

หวังว่าคุณครูทุกท่านจะได้นำหลักการและเทคนิคไปใช้ในการเรียนการสอนนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

สซ. ชวนครูวิทย์เข้าร่วม "โครงการอบรมครูสอนฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1"

สซ. ชวนครูวิทย์เข้าร่วม "โครงการอบรมครูสอนฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1"

สซ. - สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนประกาศเปิดตัว “โครงการอบรมครูสอนฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1” ให้กับครูสอนฟิสิกส์ไทยได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ การบูรณาการความรู้เทคโนโลยีในหลากหลายสาขาวิชาและเทคโนโลยีระดับสูงทางด้านเทคโนโลยีซินโครตรอน เพื่อนำความรู้เหล่านี้ไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ครูฟิสิกส์ที่สนใจสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 20 ก.ย. นี้

รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) หรือ สซ. เปิดเผยว่า ในปัจจุบันความรู้ทางด้านเทคโนโลยีซินโครตรอนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย และมีการใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอนเป็นอย่างมากในต่างประเทศ แต่ในประเทศไทยการขยายความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีซินโครตรอนนั้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และยังประสบปัญหาการขาดแคลนบุคคลากรที่มีความรู้ในการเผยแพร่เทคโนโลยีดังกล่าว โดยครูฟิสิกส์ของไทยนับว่าเป็นบุคลากรที่จะเป็นกำลังสำคัญในการช่วยถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจทางด้านซินโครตรอนนี้ลงสู่ระดับเยาวชนของไทย อาจรวมไปถึงกลุ่มของประชาชนทั่วไป

ดังนั้น สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ได้จัด “โครงการอบรมครูฟิสิกส์ไทย ครั้งที่ 1” ขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 23-27 ต.ค. 2553 ณ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดยครูที่เข้าร่วมโครงการจะได้ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำและวิทยากรทางด้านเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน ตลอดจนการใช้ประโยชน์แสงซินโครตรอน อีกทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมสาระการเรียนรู้เกี่ยวกับซินโครตรอนเพื่อใช้ในการสอนต่อไป โดยการจัดการอบรมครูฟิสิกส์ไทยนี้ มุ่งส่งเสริมให้ครูฟิสิกส์ไทยในระดับมัธยม ได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพขีดความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ตลอดจนรู้จักการบูรณาการความรู้เทคโนโลยีในหลากหลายสาขาวิชาและเทคโนโลยีระดับสูงทางด้านเทคโนโลยีซินโครตรอน และได้นำความรู้ที่ได้รับนั้นไปเผยแพร่ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปต่อไป

คุณสมบัติของผู้สมัครคือเป็นครูที่สอนวิชาฟิสิกส์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ โดยเน้นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ http://www.slri.or.th ตั้งแต่วันนี้ -20 ก.ย.53 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และจะประกาศรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกในวันที่ 24 ก.ย. 2553


ที่มา
ผู้จัดการออนไลน์