วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

การวัดผลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การวัดผลโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การวัดผลและการประเมินผล

การวัดและการประเมินผลเป็นภารกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับผู้สอน ด้วยเหตุผลที่ว่าการวัดและการประเมินผลจะเป็นวิธีการที่ประเมินความรู้ ความสามารถของผู้เรียน ตลอดจนใช้เป็นวิธีการในการตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้สอนได้ว่า ได้ดำเนินการสอนให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดำเนินการวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี

ความหมายการวัดและประเมินผล ( Measurement And Evaluation )
การวัด ( Measurement ) หมายถึง กระบวนการเชิงปริมาณในการกำหนดค่าเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายแทนคุณลักษณะของสิ่งที่วัด โดยอาศัยกฏเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เด็กหญิงสมพร สอบวิชาภาษาไทยได้ 30 คะแนน
การประเมินผล ( Evaluation ) หมายถึง การตัดสินเกี่ยวกับคุณภาพหรือคุณค่าของวัตถุ สิ่งของ โครงการการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของคนงาน หรือความรู้ความสามารถของนักเรียน

ลักษณะการวัดและการประเมินผลทางการศึกษา สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ดังนี้ การประเมินผลทางการศึกษา หมายถึง กระบวนการอย่างมีระบบที่จะตรวจสอบดูว่าผู้เรียนได้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ส่งไว้หรือไม่ การประเมินผลเป็นการตีค่าของสิ่งที่วัด การสร้างข้อสอบ ตรวจให้คะแนน เป็น การวัด แต่การบอกว่าผู้เรียนคนใดเก่งหรืออ่อนปานใด หรือได้เกรดอะไรเป็น การประเมินผล

ความแตกต่างระหว่างการวัดและการประเมินผล สามารถอธิบายได้ดังนี้
การนำสายวัดไปวัดผ้าผืนหนึ่งได้ 5 เมตร การกระทำการเช่นนี้เรียกว่าการวัด แต่ถ้าบอกว่าผ้าผืนนี้ยาวไม่พอที่จะนำมาคลุมรถบรรทุกสินค้า การบอกเช่นนี้เรียกว่า การประเมินผล

จุดประสงค์ของการวัดและการประเมินผล
1. เพื่อจัดประเภทหรือจัดตำแหน่ง ( Placement ) เป็นการวัดและการประเมินผลโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัด หรือแบ่งประเภทผู้เรียนแต่ละคนว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใดของกลุ่ม เช่น เก่ง ปานกลาง หรืออ่อน เช่น การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษเพื่อจุดกลุ่มในการเรียน
2. เพื่อวินิจฉัย ( Diagnosis ) มันใช้ใส่ทางการแพทย์ โดยเมื่อแพทย์ตรวจแล้วจะต้องวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร หรือสาเหตุที่ผู้ป่วยมีอาการไม่สบายมาจากอะไร
3. เพื่อเปรียบเทียบ ( Assessment ) ใช้ในการเปรียบเทียบพัฒนาการของผู้เรียนว่ามีมากน้อยอย่างไร เช่น การสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ( Pretest – Posttest )
4. เพื่อพยากรณ์ ( Perdiction ) เป็นการวัดความถนัดหรือจำแนกความแตกต่างของผู้เรียนเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการช่วยพยากรณ์ หรือคาดการณ์และแนะนำผู้เรียนว่าควรจะเรียนอย่างไร
5. เพื่อเป็นข้อมูลป้อนย้อนกลับ ( Feedback ) เป็นการทดสอบว่าเรื่องใดที่ผู้เรียนเรียนไปแล้วเข้าใจชัดเจน และเรื่องใดที่ยังไม่เข้าใจจะได้ทำการสอนเพิ่มเติมหรือย้ำได้
6. การเรียนรู้ ( Learning Experience ) วัดเพื่อกระตุ้นในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ที่ดี ของผู้เรียน

ประโยชน์ของการวัดปละการประเมิน
ประโยชน์ต่อผู้สอน
- ทราบพัฒนาการหรือปริมาณความงอกงามของผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านสังคม และสติปัญญา เป็นต้น
- ช่วยในการคิดเลือกเทคนิควิธีการสอน และประสบการณ์ ตลอดจนกิจกรรมที่เหมาะสมกับผู้เรียน
- ช่วยในการจัดตำแหน่งต่าง ๆ เพื่อปกครองนักเรียนให้มีคุณภาพ เช่น การจัดชั้นเรียนการเลื่อนชั้น การจัดกลุ่มผู้เรียน

ประโยชน์ต่อผู้เรียน
- ช่วยในการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
- ช่วยให้ผู้เรียนทราบถึงความสามารถของตนเองว่ามีความสามารถอย่างไร และควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง
- ช่วยให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและทราบถึงจุดประสงค์ของการศึกษาเนื้อหานั้น ๆ มากยิ่งขึ้น
- ช่วยให้ผู้เรียนสร้างกระบวนการเรียนได้ ถูกต้อง และได้รู้จักภาคภูมิใจในตนเองมากขึ้น

เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้ในการวัดและประเมินผล
เครื่องมือและเทคนิควิธีที่ใช้การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนนั้น มีมากมายหลายชนิด แต่ที่รู้จักและนิยมใช้กันเป็นส่วนมาก ได้แก่
1. การสังเกต ( Direct Observation )
2. การสัมภาษณ์ ( Interviewing )
3. การให้ปฏิบัติ ( Performance Test )
4. การศึกษากรณี ( Case Study )
5. การให้จินตนาการ ( Projective Technique )
6. การใช้แบบสอบถาม ( Qusetionnaire )
7. การทดสอบ ( Testing )

ไม่มีความคิดเห็น: